[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

    

ข้อมูลพื้นฐานอำเภอแก่งกระจาน

                     พื้นที่อำเภอแก่งกระจาน เดิมเรียกว่า หมู่บ้านตะเคียนห้าบาทพื้นที่เป็นป่าดงดิบมีภูเขาใหญ่น้อยเรียงรายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี กระทิง เก้ง กวาง เป็นต้น ชนชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยงและกระหร่าง อาศัยอยู่ตามริมน้ำซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีในปัจจุบันการปกครองเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอท่ายาง จากสภาพพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีเกาะแก่งมากมายทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ดำรงอาชีพด้วยการหาปลา โดยชาวกระเหรี่ยงจะใช้แผ่นเงินขนาดเล็กผูกติดกับเบ็ดเป็นเหยื่อล่อปลา แผ่นเงินขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมนี้ ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า กระจานซึ่งแก่งกระจานจึงมีที่มาจากอาชีพชาวกระเหรี่ยง

                               ปี ๒๕๐๔ กรมชลประทาน ได้ทำการสำรวจพบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถกั้นเขื่อนขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรได้ จึงได้ของบประมาณสร้างเขื่อนดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ..๒๕๐๔ โดยมีนายช่างประสาท  โพธิ์ปิติ เป็นผู้ควบคุม สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ..๒๕๐๙ ตั้งชื่อว่า เขื่อนแก่งกระจานเป็นเขื่อนอเนกประสงค์กั้นแม่น้ำเพชรบุรีที่บริเวณเขาไม้รวก มาบรรจบกันที่ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน

                              เขื่อนแก่งกระจาน มีความสูงจากฐานราก ๕๘ เมตร ความยาวสันเขื่อน ๗๖๐ เมตร กว้าง ๘ เมตร เริ่มกักเก็บน้ำมาตั้งแต่ปี พ..๒๕๐๘ ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีโรงงานไฟฟ้าชนิดกังหันน้ำจำนวน ๑ แห่ง สร้างเสร็จตั้งแต่ปี พ..๒๕๑๖ ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด ๑๙,๐๐๐ กิโลวัตต์ ๑ เครื่อง กำลังการผลิตไฟฟ้าปีละ ๗๘ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง มีสายเชื่อมโยงไฟฟ้าแรงสูงจากเขื่อนแก่งกระจานไปสถานีไฟฟ้าแรงสูงชะอำ ระยะทางยาว ๔๐.๔๑ กิโลเมตร

                               อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน มีพื้นที่รองรับน้ำทั้งสิ้น ๒,๒๑๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑,๓๘๑,๒๕๐ ไร่ ปริมาณน้ำฝนไหลเข้าเฉลี่ยปีละ ๙๗๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ระดับกักเก็บน้ำสูงปกติ ๗๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ระดับกักเก็บต่ำสุด ๖๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้กักเก็บน้ำได้ ๕๙๓.๔๔ ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ของอ่างเก็บน้ำ ๔๖.๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๙,๐๖๒.๕ ไร่

                               ปี พ..๒๕๓๑ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอแก่งกระจาน โดยแยกออกจากอำเภอท่ายาง เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๑ ขณะนั้นมีพื้นที่ ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง และตำบลวังจันทร์ ต่อมามีการจัดตั้งตำบลเพิ่มดังนี้

                                .  ธันวาคม ๒๕๓๑ ตั้งตำบลป่าเด็ง แยกจากตำบลสองพี่น้อง

                                .  วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๓๕ ตั้งตำบลพุสวรรค์  แยกจากตำบลวังจันทร์

.  วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ตั้งตำบลห้วยแม่เพรียงแยกจากตำบลสองพี่น้อง

ปี พ..๒๕๓๖ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอแก่งกระจาน เป็นอำเภอแก่งกระจาน เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๖

                                            คำขวัญอำเภอแก่งกระจาน

                                พะเนินทุ่งสูงตระหง่าน                                     ตระการตาทอทิพย์

                                ป่าดงดิบอุทยาน                                                   แก่งกระจานเขื่อนดิน

 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน

ประวัติความเป็นมา

                                ปี พ.ศ. ๒๕๓๒  อาจารย์สงัด  เกตุอินทร์  ทำหน้าที่ผู้ประสานงานอำเภอแก่งกระจาน มีครู อาสาสมัคร กศน.   คน คือ นางสาวภิรมย์พร  ตรีเพชร ใช้สำนักงานปฏิบัติงานที่แผนกศึกษาของกิ่งอำเภอแก่งกระจาน  ( ร้านค้าสวัสดิการชลประทานในปัจจุบัน)

                                ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ๒๕๓๔ ผู้ประสานงานอำเภอ คือ นางลาวัลย์  ศรีสุขสวัสดิ์ โดยผู้ประสานงานส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานประจำอยู่ที่จังหวัด และจะมาติดตามผลการดำเนินงานเป็นครั้งคราว

                                ปี พ.ศ. ๒๕๓๕  กิ่งอำเภอแก่งกระจาน ยะกระดับเป็นอำเภอแก่งกระจาน ได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ใหม่ และมีผู้ประสานงานอำเภอ คือ นายชาญ  กองจันทร์ดี  ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์ กศน.อำเภอ  มีครูอาสาสมัครเพิ่มอีก    คน  ต่อจากนั้นกิ่งอำเภอแก่งกระจานหลังเก่า ได้ขอเป็นที่ทำการห้องสมุดประชาชน แล้วใช้วัสดุก่อนสร้างจากศูนย์ กศน.จังหวัดเพชรบุรี มาดำเนินการก่อสร้าง ต่อจากนั้นนายชาญ  กองจันทร์ดี ได้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่ กศน.อำเภอท่ายาง

                                ปี  พ.ศ. ๒๕๓๕  นายสังวร  บัวศิริ ได้ย้ายมาปฏิบัติงานในตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์ฯอำเภอ มีครูอาสาสมัคร ปฏิบัติงานจำนวน  ๔ คน  และยังใช้สำนักงานอยู่ที่แผนกศึกษา (ห้องทำบัตรประชาชนของอำเภอในปัจจุบัน)

                                ปี พ.ศ. ๒๕๓๖  นางสาวภิรมย์พร  ตรีเพชร  ได้ลาออกจากครูอาสาสมัคร กศน. เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการกรมสามัญศึกษา  และสำนักงานก็ยังใช้ที่เดิม จนกระทั่งได้รับงบประมาณสร้างห้องสมุด  จึงได้ย้ายจากแผนกศึกษามาใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอแก่งกระจาน เป็นสำนักงานในการปฏิบัติงาน (ปัจจุบัน) พื้นที่ที่ใช้ในการก่อนสร้างห้องสมุดเป็นของอำเภอแก่งกระจาน ที่ได้มีการวางผังงานไว้แล้ว อำเภอแก่งกระจานได้จัดสรรเนื้อที่ให้มีการก่อสร้างห้องสมุดและใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานมาโดยตลอด และใช้สถานที่ราชการแห่งนี้ใช้ชื่อว่า  “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแก่งกระจาน”  ได้ทำการร่วมกับห้องสมุดประชาชนอำเภอแก่งกระจาน ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับที่ว่าการอำเภอแก่งกระจาน เป็นอาคารลักษณะเป็นปูนชั้นเดียว และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ย้ายที่ทำการสำนักงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแก่งกระจานมาอยู่ที่บ้านเช่า เลขที่ ๑๙๘/๑ หมู่ ๑ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นอาคารชั้นเดียว อยู่บริเวณตรงข้ามกับวัดแก่งกระจาน

                        ปี พ.ศ. ๒๕๔๗  นางเบญจพร  หมื่นสวัสดิ์  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแก่งกระจาน

                         ปี พ.ศ. ๒๕๕๒  นายวรวุฒิ  หุ่นมาตร  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน ตั้งแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒

                        ปี พ.ศ. ๒๕๕๒  นางสุนันทา  การะเวก  รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน   เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒

                                การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน

วิสัยทัศน์

                ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน เป็นองค์กรหลักในการจัดส่งเสริมและสนับสนุนให้พันธมิตรทุกภาคส่วนของสังคม จัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนให้ครอบคลุมและทั่วถึงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ตอบสนองนโยบายของรัฐ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน

 พันธกิจ

            ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน มีหน้าที่ตามภารกิจดังต่อไปนี้

1.              จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2.             ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่าย เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

3.             ดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล และงานเสริมสร้างความมั่นคง­ของชาติ

4.             จัด ส่งเสริม และประสานงานการจัดการศึกษาตามนโยบายอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่

5.             จัด ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.             วิจัย และพัฒนาคุณภาพ หลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษานอกระบบ

7.             ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

8.             กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินการนอกระบบและการ     ศึกษาตามอัธยาศัย

9.             พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

10.      ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

11.      ดำเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด

12.      ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

เป้าประสงค์

1.              ประชาชนกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

2.             ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

3.             ประชาชนกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้รับการศึกษาเฉลี่ยสูงขึ้น มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ เชิงวิทยาศาสตร์ มีนิสัยรักการเรียนรู้ มีคุณธรรม และมีแหล่งเรียนรู้อย่างพอเพียง

4.             ประชาชนกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน สามารถจัดการความรู้เพื่อนนำไปสู่การสร้างงานและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข

5.             ประชาชนกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนพื้นที่ความมั่นคงชายแดนได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาทักษะการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและอยู่อย่างสันติสุข

6.             ประชาชนกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ชุมชนและสังคม

7.             ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

 

 

 





 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี 
198/1 หมุ่ 1 ตำบลแก่งกระจาน  อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 032-459158 , 032-459182
โทรสาร  032-459158  , 032-459182
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01