[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

 

ข้อมูลพื้นฐาน

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง

ข้อมูลสถานศึกษา

สถานที่ตั้ง

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง เลขที่ ๕๖หมู่ ๔ ตำบล หนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์  ๗๖๑๖๐ โทร. ๐-๓๒๔๙-๔๒๒๙   โทรสาร   ๐-๓๒๔๙-๔๒๒๙
E-mail   -   website  www.pet.nfe.go.th/nfe๗๖๐๓/

สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติความเป็นเมาของสถานศึกษา

เดิมประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๕ อำเภอหนองหญ้าปล้อง มีข้าราชการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรี มาปฏิบัติงานหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนประจำ อำเภอหนองหญ้าปล้อง (ผปอ.) เพื่อประสานงานการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนกับส่วนราชการต่าง ๆ ภายในอำเภอหนองหญ้าปล้อง โดยยังไม่มีสำนักงานในการปฏิบัติงานประจำ

เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๗ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งให้มีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองหญ้าปล้อง (ศบอ.)ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๓๔ ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ.๒๕๓๑ ข้อ ๖ ช่วงนี้มีผู้บริหารตำแหน่งหัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองหญ้าปล้อง ได้อาศัยอาคารของชุมชนเป็นสำนักงานและขณะเดียวกันศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรีเป็นผู้ดำเนินการและประสานงานในการก่อสร้างห้องสมุดประชาชนโดยเบื้องต้น อาจารย์กิ่ง  
ทองเอิบอ่อง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง(อุดมวนา)ได้เป็นผู้จัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้าง ได้รับบริจาคที่ดินจากวัดหนองหญ้าปล้อง พระครูบรรพตประชาวสัย เจ้าคณะอำเภอหนองหญ้าปล้อง เป็นผู้มอบให้ จำนวน ๒ งาน ๕๐ ตารางวา ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๘ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๙ และใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองหญ้าปล้องเป็นสำนักงานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองหญ้าปล้อง และปี พ.ศ.๒๕๔๕ ทางกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้มีนโยบายให้
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ แยกออกจากห้องสมุดประชาชนอำเภอ ได้เช่าอาคารเอกชนเป็นสำนักงาน

ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงเปลี่ยนชื่อศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองหญ้าปล้อง มาเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยมีชื่อย่อ กศน.อำเภอหนองหญ้าปล้อง สังกัดสำนักงาน
ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อมูลชุมชน  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง สลับภูเขา เป็นแนวสูงต่ำโดยตลอดซึ่งมีพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น๑,๒๔๙,๗๙๙ตารางกิโลเมตร หรือ  ๗๘๑,๑๒๔ไร่ มีเขตป่าสงวนแห่งชาติ  และเขตอุทยานแห่งชาติ  บ้านเรือนของประชาชนส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอฯ ส่วนด้านตะวันตกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าและเป็นแนวเขาตลอดบางส่วนทำเป็นพื้นที่เกษตรปลูกสับปะรดมะม่วง มะขามหวาน ส้มเขียวหวาน ลำไย ลองกองฯลฯ

                                ทิศเหนือ                                จดอำเภอปากท่อ    จังหวัดราชบุรี

                                ทิศใต้                                      จดอำเภอแก่งกระจาน และอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

                                ทิศตะวันออก                       จดอำเภอเขาย้อย และอำเภอบ้านลาด  จังหวัดเพชรบุรี

                                ทิศตะวันตก                          จดอำเภอแก่งกระจานและประเทศเมียนม่า

ประชากร

                รวมทั้งสิ้น  ๑๔,๒๖๔คน  มี ๓,๖๒๙ครัวเรือน ( ณ วันที่ ๒๘มิถุนายน ๒๕๕๐)

                ประกอบด้วยเชื้อชาติไทยประมาณ ร้อยละ ๗๐ อยู่ในตำบลหนองหญ้าปล้องและตำบลท่าตะคร้อ เชื้อชาติกะเหรี่ยงประมาณ ร้อยละ ๓๐ อยู่ในตำบลยางน้ำกลัดเหนือและยางน้ำกลัดใต้

ด้านการปกครอง

                                อำเภอหนองหญ้าปล้อง แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๔ ตำบล  ๓๑ หมู่บ้านได้แก่

ที่

ชื่อตำบล

จำนวนหมู่บ้าน

พื้นที่

ตำบลหนองหญ้าปล้อง

     ๑๑ หมู่บ้าน

๗๘   ตารางกิดลเมตร

ตำบลท่าตะคร้อ

       ๘ หมู่บ้าน

๗๔   ตารางกิโลเมตร

ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ

       ๕ หมู่บ้าน

๖๗๗ ตารางกิโลเมตร

ตำบลยางน้ำกลัดใต้

       ๗ หมู่บ้าน

๔๓๙ ตารางกิโลเมตร

 

                                และยังมี การปกครองส่วนท้องถิ่น   ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล  ๓ แห่ง  ดังนี้

๑.     องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง

๒.    องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะคร้อ

๓.    องค์การบริหารส่วนตำบลยางน้ำกลัดใต้และยางน้ำกลัดเหนือ

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

                                อาชีพหลักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกกล้วยไข่ ไร่อ้อย

                                ธนาคาร                                 จำนวน ๑  แห่ง คือ  ธนาคารออมสิน

                                สถาบันการเงิน                    จำนวน    แห่ง คือ สหกรณ์  สหกรณ์เครดิตยุเนียน

ข้อมูลของสถานศึกษา

                                ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง จัดการศึกษาเพื่อให้บริการกลุ่มเป้าหมายประชาชน โดยมีภาระงานดังนี้

1.             การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.             การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

3.             การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

4.             การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

5.             การจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6.             การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ทำเนียบผู้บริหาร

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง

ที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

หมายเหตุ

นายอุดม         อนุกูล

หัวหน้าศูนย์

พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๔๐

 

นางสาวพัชรา  พิมพ์ศิริ

ผู้อำนวยการ

พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๘

 

นายเกรียงไกร ซิ้มเจริญ

ผู้อำนวยการ

พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๓

 

 

บุคลากร

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง  มีบุคลากรทั้งสิ้น จำนวน ๑๑ คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร  จำนวน    อัตรา ข้าราชการครู จำนวน ๑ อัตรา ข้าราชการพลเรือน  จำนวน ๑ อัตรา   พนักงานราชการ จำนวน ๓  อัตรา   ครูศูนย์การเรียนชุมชน  จำนวน ๔  อัตรา และบรรณารักษ์อัตราจ้าง  จำนวน  ๑อัตรา  ดังรายชื่อต่อไปนี้

ที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

นายเกรียงไกร ซิ้มเจริญ

ผู้อำนวยการ

กศน.อำเภอนองหญ้าปล้อง

ปริญญาโท (ศศ.ม.)

สาขาบริหารการศึกษา

นางสาวสาลินี  เลี่ยมพาน

ครู

ปริญญาตรี (คบ.) สาขาบรรณารักษศาสตร์

นางสาวนริศรา  พลูน้อย 

บรรณารักษ์ปฏิบัติการ

ปริญญาตรี(ศษ.บ.) .

สาขาบรรณารักษศาสตร์และ

สารสนเทศศาสตร์

นางอุนากรรณ  ไทยถนอม 

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

ปริญญาตรี (คบ.)

สาขาการประถมศึกษา

 

นางสาวกันยา ศรีเคลือบ 

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

ปริญญาตรี (ศษ.บ.)

สาขาการแนะแนวการศึกษา

นางจรินทร์ ปลั่งขำ

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

ปริญญาตรี (คบ.)

สาขาการประถมศึกษา

นางวรรณา ทองทา

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี (คบ.)

สาขาคหกรรมศาสตร์

นางสาวอมรา ทับทิม 

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี (ศษ.บ.)

สาขาเกษตรศาสตร์ทั่วไป

นางสาวกานต์พิชชา ทองต้า

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี (ศษ.บ.)

สาขาเกษตรศาสตร์ทั่วไป

๑๐

นางสาวณัฐธยาน์กิจจารุ่งโรจน์ 

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี (ศษ.บ.)

สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การอาหาร

๑๑

นายเพชรแก้วมณี  เพชหนู 

บรรณารักษ์อัตราจ้าง

ปริญญาตรี (ศษ.บ.) สาขาการจัดการ

               

ข้อมูลผู้เรียน / ผู้รับบริการ

                                ๑)งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียนด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและหลักสูตรที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่มั่นคงและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

           กศน.ตำบล  มีจำนวน ๔ แห่ง ดังนี้

ศูนย์การเรียน

จำนวนนักศึกษา

รวม(คน)

ครูผู้สอน

ประถม

ศึกษา

มัธยมศึกษา

ตอนต้น

มัธยมศึกษา

ตอนปลาย

กศน.ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ม.๓ บ้านหนองไผ่ ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง

 

๔๕

๑๐๓

๑๕๒

นางวรรณา  ทองทา

กศน.ตำบลท่าตะคร้อ

ม.๔ บ้านสามเรือน ต.ท่าตะคร้อ

อ.หนองหญ้าปล้อง

๓๒

๑๐๔

๑๔๓

นางสาวอมรา ทับทิม

กศน.ตำบลยางน้ำกลัดใต้

ม. ๒ บ้านโปรงวิเชียร

ต.ยางน้ำกลัดใต้ อ.หนองหญ้าปล้อง

 

 

๔๘

๑๐๔

๑๕๒

นางสาวณัฐธยาน์กิจจารุ่งโรจน์

กศน.ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ

ม.๒ บ้านห้วยเกษม  

ต.ยางน้ำกลัดหนือ  

อ.หนองหญ้าปล้อง

 

๓๕

๑๐๗

๑๔๗

นางสาวกานต์พิชชา  ทองต้า

รวม

๑๖

๑๖๐

๔๑๘

๕๙๔

 

 

                              ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้

๑)       ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อ-สกุลภูมิปัญญา

ที่อยู่ / สถานที่ติดต่อ

หลักสูตร/องค์ความรู้/ความชำนาญ/ประสบการณ์

นางสุขุมาษเติมศักดิ์

๑๓๑ หมู่ ๑๑ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร(แปรรูปกล้วย OTOP)

นายเจ้ยแก้วอินทร์

๔๒ หมู่ ๕ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านหัตถกรรม(จักสาน)

นางสร้อย  อ้นทอง

๑๕ หมู่ ๑ ตำบลยางน้ำกลัดใต้

ด้านหัตถกรรม(ทอผ้ากะเหรี่ยง)

นายบุญเทียน  กีฬาหน

๑๐ หมู่ ๒ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ

ด้านแพทย์แผนไทย(สมุนไพร)

นางกาญจนา โกมลวานิช

๑๓๖/๑ หมู่ ๔ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านสมุนไพรว่านหางจระเข้

นายสมภร  ทับนาค

๒๗ หมู่ ๓ ตำบลท่าตะคร้อ

ด้านปุ๋ยหมัก

นายประจวบ  เขียวแก้ว

๒๒๔ หมู่ ๑ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านปุ๋ยหมัก เกษตรธรรมชาติ

นางปราณี  เขียวแก้ว

๒๒๔ หมู่ ๑ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร(แปรรูปขนุน)

นายพูน  ป้อมสิงห์

๗ หมู่ ๒ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านหัตถกรม(จักสาน)

นายยา  ใจทน

๒๘ หมู่ ๒ ตำบลท่าตะคร้อ

ด้านการปลูกมะลิ

นายบุญเลี่ยม  เสนาะน้อย

๙๐ หมู่ ๒ ตำบลท่าตะคร้อ

การเพาะเห็ดนางฟ้า

นายสุจินต์  กลั่นสอน

๒๑ หมู่ ๑ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านการทำน้ำส้มควันไม้

นายไว  เติมพูน

๔๗ หมู่ ๔ ตำบลหนองหญ้าปล้อง

ด้านการผลิตเห็ดครบวงจร

       ๒)  แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง/ สถานที่ติดต่อ

องค์ความรู้

วัดหนองหญ้าปล้อง

ม.๔ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้ด้านพุทธศาสนา

วัดอ่างศิลา

ม.๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้ด้านพุทธศาสนา

วัดจะโปรง

ม.๕ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้ด้านพุทธศาสนา

วัดเขาชมพู

ม.๓ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้ด้านพุทธศาสนา

สำนักสงฆ์เขารักษ์

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้ด้านพุทธศาสนา

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านอ่างศิลา

ม.๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้ด้านข้อมูลชุมชน

ศูนย์ทอผ้าสามเรือน

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้ด้านการทอผ้าพื้นบ้าน

ศูนย์แปรรูปเห็ดสามเรือนสามรส

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้ด้านการแปรรูปเห็ด

แหล่งเรียนรู้การผลิตเห็ดครบวงจร

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้ด้านการทำเห็ดครบวงจร

เขื่อนแม่ประจันต์

ม.๕ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้เรื่องน้ำการเพาะพันธ์

น้ำพุร้อน

ม.๕ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ

องค์ความรู้เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ

น้ำตกแม่กระดังลา

ม.๓ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ

องค์ความรู้เรื่องธรรมชาติและการอนุรักษ์

น้ำตกเซาะยาง

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้เรื่องธรรมชาติการอนุรักษ์

ศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ม.๑ ต.ยางน้ำกลัดใต้

องค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

องค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยทรงดำ

ศูนย์แปรรูปกล้วย

ม.๑๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้เรื่องการแปรรูปกล้วย

ศูนย์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ม.๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

องค์ความรู้เรื่องการแปรรูปขนุน

ภาคเครือข่าย

ชื่อภาคีเครือข่าย

ที่อยู่/ สถานที่ติดต่อ

กิจกรรม กศน.ที่จัด/ร่วมจัด

วัดอ่างศิลา

ม.๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

กิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าค่าย

โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง(อุดมวนา)

ม.๔ ต.หนองหญ้าปล้อง

ใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมพื้นฐาน

โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้องวิทยา

ม.๙ ต.หนองหญ้าปล้อง

ความร่วมมือด้านวิทยากรสอนกลุ่มอาชีพ

ที่ว่าการอำเภอหนองหญ้าปล้อง

ม.๔ ต.หนองหญ้าปล้อง

ร่วมมือจัดกิจกรรมงานอื่นๆ โครงการอำเภอยิ้ม

ศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ม.๑ ต.ยางน้ำกลัดใต้

เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ศูนย์แปรรูปกล้วย

ม.๑๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

เป็นศูนย์ศึกษาหาความรู้เรื่องการแปรรูปกล้วย

แหล่งเรียนรู้การผลิตเห็ดครบวงจร

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ด้านการทำเห็ดครบวงจร

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านอ่างศิลา

ม.๑ ต.หนองหญ้าปล้อง

เป็นศูนย์ศึกษาหาความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ

ศูนย์ทอผ้าสามเรือน

ม.๔ ต.ท่าตะคร้อ

เป็นศูนย์ศึกษาหาความรู้ด้านการทอผ้าพื้นบ้าน

พัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าปล้อง

ม.๔ ต.หนองหญ้าปล้อง

ให้ความร่วมมือด้านการเป็นวิทยากร

เกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง

ม.๔ ต.หนองหญ้าปล้อง

ให้ความร่วมมือด้านการเป็นวิทยากร

สาธารณสุขอำเภอหนองหญ้าปล้อง

ม.๔ ต.หนองหญ้าปล้อง

ให้ความร่วมมือด้านกิจกรรมการให้ความรู้ด้านโรคติดต่อ

        ผลการวิเคราะห์ SWOT ของสถานศึกษา

สภาพแวดล้อมภายใน  (. จุดแข็ง  . จุดอ่อน)

ปัจจัยด้านโครงสร้าง  และนโยบายของสถานศึกษา  (S)

จุดแข็ง : (Strength : S)

จุดอ่อน  :  ( Weakness : W )

๑. มีกรอบแนวทาง กระบวนการจาก ส่วนกลางมอบหมายให้สถานศึกษาจึงทำให้เกิดความคล่องตัวรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

๒. นโยบายขององค์กรสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการกระจายการจัดการเรียนการศึกษาลงสู่ท้องถิ่นที่ชัดเจน  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

๓. มีแผนการปฏิบัติงานประจำปี

๔. มีหลักสูตรที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน

๑. . เป้าประสงค์ขององค์กรเป็นลักษณะ เร่งรัด 
หวังผล  คาดหวังสูงในความสำเร็จ

๒. นโยบายจากส่วนกลางมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมีผลในการปฏิบัติงานไม่ชัดเจนบางข้อปฏิบัติตามไม่ได้


ปัจจัยด้านการบริการ  และคุณภาพผู้เรียน  (S)

จุดแข็ง : (Strength :S)

จุดอ่อน :   (Weakness : W)

๑. มีศูนย์การเรียนชุมชนคลอบคลุมทั่ว ส่งผลต่อการให้บริการศึกษาอย่างทั่วถึง และได้ทุกกลุ่มเป้าหมายทุกเพศ ทุกวัย

๒. มีการจัดกิจกรรมและการให้บริการที่หลากหลายยืดหยุ่น  ตรงความต้องการของผู้เรียน

๓. เข้าใจทิศทางและความต้องการของผู้รับบริการ

๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพื้นฐานนอกระบบส่วนใหญ่ต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งเกิดจากพื้นฐานความรู้ความยืดหยุ่นของระบบที่จัดทำให้ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร

๒. ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้และวัยที่แตกต่างกัน

ปัจจัยด้านบุคลากร  (M)

จุดแข็ง(Strength :S )

จุดอ่อน(Weakness :W)

๑. บุคลากรส่วนมากได้รับการพัฒนา ความรู้ในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

๒. บุคลากรที่ปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี มีความรู้ ความสามารถให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

๓. มีบุคลากรจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการในพื้นที่ครอบคลุมทุกตำบล

๔. บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่

๑. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่บางคนขาดทักษะการประสานงานกับองค์กรส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่รับผิดชอบ

๒. บุคลากรบางคนขาดการนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปพัฒนางานที่รับผิดชอบ

๓. บุคลากรไม่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

ปัจจัยด้านการเงิน (M)

จุดแข็ง: (Strenght : S)

จุดอ่อน: (Weakness : W)

๑. การบริหารเงินงบประมาณ เป็นไปอย่าง

มีประสิทธิภาพ  เป็นไปตามลำดับขั้นตอนใน

การบริหารจัดการในงบประมาณ

๒. มีการจัดสรรเงินงบประมาณตามแผน

การปฏิบัติงานเพียงพอตามรายปี

๑. ประชาชนส่วนใหญ่  มีฐานะยากจนจึงไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาเท่าที่ควร

๒. การโอนเงินงบประมาณล่าช้า การเบิกจ่ายจึงไม่ทันการทำให้การคล่องตัวลดลง

๓. บุคลากรยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเบิกจ่ายเงินเท่าที่ควร

                          ปัจจัยด้านวัสดุ  อุปกรณ์  และครุภัณฑ์  (M)

จุดแข็ง: (Strenght : S)

จุดอ่อน: (Weakness : W)

๑. ประสิทธิภาพและความสามารถในการใช้

วัสดุอุปกรณ์ขององค์กรในปัจจุบันมีมากขึ้นทำ

ให้สามารถดำเนินงานได้ผลดี มีประสิทธิภาพ

๒. องค์กรจัด ผู้รับผิดชอบในการจัดหา การควบ

คุมการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์โดยตรง

๑. งบประมาณในการจัดหาจัดซื้อมีน้อย

๒. ระเบียบในการจัดซื้อจัดหาไม่เอื้อต่อการบริหาร

๓. ขาดการจัดทำแผนการใช้วัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์

 

                                                                 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ  (M)

จุดแข็ง: (Strenght :S)

จุดอ่อน : (Weakness : W)

๑. มีการวางแผนดำเนินงานชัดเจนและจัดทำแผนปฏิบัติการ  ทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

๒. มีการจัดกระบวนการทำงาน  มีการประชาสัมพันธ์ที่ดีทำให้การบริหาร  มีประสิทธิภาพ

๔. มีการมอบหมายการปฏิบัติงานชัดเจนตรงตามความสามารถของบุคลากร

๑. การติดตามผลไม่ทั่วถึงและต่อเนื่องทุกขั้นตอนใน

บางกิจกรรมทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

๒. การปฏิบัติงานบางครั้งไม่เป็นไปตามแผนงาน รวบรัดด้วยเหตุบุคลากรไม่เพียงพอ ภารกิจงานเร่งด่วนต้องทำ

๓. บุคลากรทำงานรับผิดชอบหลายหน้าที่

 

สภาพภายนอก (๑. โอกาส  ๒. อุปสรรค)

ปัจจัยด้านสังคม  และวัฒนธรรม(S)

โอกาส (Opportunities : O)

อุปสรรค :  (Threat : T)

๑. มีภาคีเครือข่าย ร่วมดำเนินงานจัดกิจกรรม ต่าง ๆ  อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. ชุมชนมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถให้ความรู้ได้

๓. ประชาชนบางส่วนสามารถนำความรู้   ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสร้างอาชีพ  เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

๔. มีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นศึกษาหาความรู้ได้

๕. พระราชบัญญัติมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๖. มีสภาพแวดล้อมและชุมชนที่เข้มแข็ง

๗. มีแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายสามารถสืบค้นข้อมูลได้

๑. ประชาชนที่มีความรู้น้อย และยากจน ไม่ให้ความสนใจในการเรียนรู้

๒. ประชาชนคนรุ่นใหม่ไม่สนใจและเห็นคุณค่าที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเท่าที่ควร

 

ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  (E)

โอกาส(Opportunities : O)

อุปสรรค :  (Threat : T)

๑. นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมาส่งผลต่อการจัดการศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ  หลากหลายกลุ่มเป้าหมายและมีความยืดหยุ่น

๒. นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประชาขนมีรายได้  มีการกระจายรายได้และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

๓. องค์กรภาคีเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินงานจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๑.   ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้น้อยและไม่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเท่าที่ควร

.  วิกฤตทางเศรษฐกิจมีผลต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

ปัจจัยด้านเทคโนโลยี  (T)

โอกาส  (Opportunities : O)

อุปสรรค:  (Threat : T)

๑. เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า  ทำให้การประสานงานการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของการศึกษานอกระบบ  เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว

๒. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน

๓. มีการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อประสานงาน  จัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ  ง่ายต่อการปฏิบัติงาน

๔. มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

๕. สถานศึกษามีเว็บไซด์เป็นของตนเอง

 

๑. บุคลากรบางคนยังมีประสบการณ์ในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการปฏิบัติงานบางประเภท  ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีประสบการณ์ในการใช้งานน้อย

๒. ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการสื่อสารไม่ดีพอ

๓. บุคคลากรไม่สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีในบางกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย(S)

โอกาส (Opportunities : O)

อุปสรรค :  (Threat : T)

๑. นโยบายภาครัฐในการขจัดปัญหาความขัดแย้งของกฎระเบียบในสิ่งที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ

๒. มีการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง

๓. มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

๔. มีการสนับสนุนผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ป่วยเรื้อรัง

๕. พระราชบัญญัติของการศึกษาปี  ๒๕๕๑              ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๑. สถานศึกษายังมีความรู้ความเข้าใจในการนำพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ๒๕๕๑มาดำเนินการจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไม่ดีพอ

๒. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถร่วมกิจกรรมในการศึกษาตามอัธยาศัย

๓. มีการขัดแย้งของผู้นำท้องถิ่นหรือนักการเมืองWeak nessessมเพื่อการศึกษาดหลักปรหนองหญ้าปล้องโดยไม่คำนึงผลประโยชน์ต่อการศึกษาของประชาชนในท้องถิ่น

 

 

ปรัชญาของสถานศึกษา

                “คิดเป็น"

 วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

                เป็นองค์กรจัดการเรียนรู้ให้กับประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  อย่างมีคุณภาพ  ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  พันธกิจของสถานศึกษา

๑.  ส่งเสริมและจัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมตามสภาพและความต้องการ

๒. ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษา

๓. ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณธรรมและทักษะการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๔. พัฒนาระบบบริหารแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

๕. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

เป้าหมายของสถานศึกษา

๑. บุคลากรเข้าใจความต้องการและความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสในการศึกษาหาความรู้ตรงกับความต้องการของตนเองทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

                ๓. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้และมีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                ๔. บุคลากรในหน่วยงานและภาคีเครือข่ายทำงานเป็นระบบในทิศทางเดียวกันในการพัฒนาผู้เรียนผู้รับบริการ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                ๕. บุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถพัฒนาการทำงานให้เป็นระบบตามมาตรฐานการศึกษา

 





 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหญ้าปล้อง  จังหวัดเพชรบุรี
ถนนหนองควง-เพชรเกษม  ตำบลหนองหญ้าปล้อง  อำเภอหนองหญ้าปล้อง  จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ ๐๓๒-๔๙๔๒๒๙โทรสาร  ๐๓๒-๔๙๔๒๒๙ Ammara_waw@hotmail.com   
nikorn@nfe7603.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01